Main Menu

poker online

ปูนปั้น

สายรักษ์โลกต้องอ่าน! แนวทางติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า หมู่บ้านแพรกษา

Started by Prichas, July 24, 2024, 08:09:14 PM

Previous topic - Next topic

Prichas

ชาวหมู่บ้านแพรกษา ที่อยากเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าต้องไม่พลาด เพราะในบทความวันนี้เรามีแนวทาง สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้ามาฝากทุกคนกันด้วย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งให้ทุกท่านได้ตัดสินใจง่ายขึ้น ว่ายังอยากจะมีรถไฟฟ้าไว้ในครอบครองหรือไม่ โดยแนวทางการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีขั้นตอน ดังนี้ 
  • ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า
การตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเท่าไหร่ สามารถสังเกตได้จากเฟส (Phase) ที่มิเตอร์ไฟฟ้า โดยบ้านในหมู่บ้านแพรกษาส่วนใหญ่ทั่วไปมักเป็น Single-Phase 15 (45) A ซึ่งไม่เพียงพอต่อการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจาก ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใช้กำลังไฟถึง 32 A ซึ่งหากชาร์จรถยนต์ EV พร้อมกับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน อาจทำให้ไฟฟ้าไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการใช้ไฟฟ้าเกิน ดังนั้น เจ้าของบ้านจำเป็นต้องทำเรื่องขอมิเตอร์เป็น 30 (100) A หรือ 3-Phase 15 (45) A ตามที่ กฟภ. หรือ กฟน. กำหนด ซึ่งก่อนติดตั้งควรติดต่อช่างเทคนิค เพื่อประเมินโหลดไฟให้เหมาะสมกับตัวบ้าน ทั้งนี้ การติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการเปลี่ยนมิเตอร์ เช่น ตู้คอนซูมเมอร์ เมนเบรกเกอร์ และเบรกเกอร์กันไฟรั่ว เป็นต้น
  • ตรวจสอบสายไฟเมน
หลังจากตรวจเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ต้องเช็กขนาดสายไฟเมน หากมีขนาด 16 ตร.มม. ต้องเปลี่ยนมาใช้ขนาด 25 ตร.มม. เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ ซึ่งมีรูปแบบทางเลือกการติดตั้ง ดังนี้ กฟภ. : อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่สอง โดยการเดินสายไฟเมนที่สองจากมิเตอร์ลูกใหม่ ไปถึงจุดติดตั้งโดยตรง กฟน. : อนุโลมให้การติดตั้งสายไฟเมนวงจรที่สอง สำหรับเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า โดยต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ให้เหมาะสม 
  • ตรวจสอบรูปแบบหัวชาร์จ
ปัจจุบัน หัวชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามีหลากหลายแบบ จึงจำเป็นต้องเลือกหัวชาร์จที่เหมาะสมกับรถของเรา โดยทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทย มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ แบบ AC และ แบบ DC ซึ่งหัวชาร์จในแบบ AC คือ การชาร์จไฟกระแสสลับ หรือหัวชาร์จสำหรับใช้กับไฟบ้านเหมาะกับการชาร์จแบบข้ามคืน เนื่องจาก ใช้เวลาค่อนข้างนานต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง ในส่วนหัวชาร์จแบบ DC คือ การชาร์จในแบบกระแสตรง หรือเรียกว่าระบบ Fast-Charging ซึ่งสามารถชาร์จเต็มได้เวลาไม่ถึงชั่วโมง เพราะเวลาเสียบชาร์จกระแสไฟจะไม่ผ่าน Onboard Charger ของรถ โดยส่วนใหญ่มักติดตั้งที่สาธารณะ และไม่นิยมติดตั้งภายในบ้านของหมู่บ้านแพรกษา
  • ตรวจสอบจุดติดตั้งเครื่องชาร์จ
ในส่วนขั้นตอนสุดท้าย ก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านในหมู่บ้านแพรกษา ควรติดตั้งเต้ารับเสียบปลั๊กแบบ 3 รู และใช้สายดินแยกออกจากหลักดินของบ้าน ทั้งยังควรเช็กตำแหน่งที่ติดตั้งให้มีระยะห่างที่เหมาะสม โดยไม่ควรอยู่ห่างจากที่จอดรถเกิน 5 เมตร อีกทั้งตำแหน่งที่ติดตั้งควรอยู่ในร่ม ที่สามารถป้องกันแสงแดด หรือฝนตกได้ เพื่อถนอมการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.nakornthong.co.th/